ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้เราสามารถต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ประจำปีได้แล้ว โดยไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติด ไม่ต้องหยุดงาน และไม่ต้องเสี่ยงกับโควิด-19 อีกด้วย เพราะไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ ฯลฯ ก็ต้องชำระค่าภาษีเป็นประจำทุกปีที่เรียกกันว่า “ป้ายวงกลม” หรือ “ป้ายภาษี” นั่นเอง
ว่าแต่การจะต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ รวมถึงการต่อภาษีรถที่มีอายุมากกว่า 7 ปีขึ้นไปต้องทำอย่างไรกันบ้าง? เพราะปัจจุบันกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก) สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านช่องทางออนไลน์ได้แล้ว ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและสะดวกสบาย เรียกว่าสามารถทำได้ทุกที่และทุกเวลานั่นเอง
รถยนต์แบบไหนต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ประจำปีได้บ้าง?
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คน และเกิน 7 คน) อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 คนและเกิน 7 คน) อายุเกิน 7 ปี
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุเกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี
- รถจักรยานยนต์ อายุเกิน 5 ปี
- เป็นรถที่จดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้
- รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก) ก่อนจะยื่นต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) เสียก่อน โดยคุณต้องเตรียมสมุดเล่มทะเบียนรถ หรือสำเนาเล่มทะเบียนรถไปด้วย เมื่อตรวจสภาพเรียบร้อยแล้วจะได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รวมถึงควรจะต้องต่อ พ.ร.บ.ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยของปีนั้นๆ ให้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคุณสามารถทำที่ ตรอ. ได้เลย หรือจะทำการซื้อขณะที่กำลังทำรายการต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์บนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกได้เช่นกัน แบ่งเป็น
- รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส สามารถนำรถไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรงได้เช่นกัน และอย่าลืมแนบหลักฐานการทำ พ.ร.บ.ไปด้วย
- รถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี ที่ติดตั้งแก๊ส นอกจากต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.แล้ว จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์เดียวกับรถไม่เกิน 7 ปีคือ อายุการติดตั้งระบบแก๊สนับจากวันที่ระบุไว้ รวมถึงถังบรรจุแก๊สด้วย เมื่อตรวจสอบทุกอย่างครบก็สามารถนำรถเข้าไปต่อทะเบียนได้เลย โดยอย่าลืมพ.ร.บ.แนบไปด้วย